ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger นางสาวเสาวลักษณ์ พินันต์ นะค่ะ

เกริ่นนำ

.....สวัสดีท่านผู้ชมทุกท่านที่เข้ามาชม Blogger นี้ ซึ่งเป็นสื่อประกอบการเรียนรายวิชา ความเป็นครู โดยผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติกับ Blogger มีความสะดวกสบาย ทำให้ได้ข้อมูลความรู้ ทั้งที่เป็นบทความและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครู ช่วยให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างไกล มาตรวจสอบและเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในห้องเรียนปกติ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Bloggerนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาไม่มากก็น้อย ถ้าหากมีข้อผิดผลาดประการใด ก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำอธิบายรายวิชา
……….เรียนรู้จากครูต้นแบบที่มีคุณลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ให้สามารถดำรงตนให้เป็นผู้มีความรู้ในเนื้อหา ยึดมั่นผูกพันและศรัทธาในวิชาชีพ  ปฏิบัติตนให้อยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพครู สร้างปฏิสัมพันธ์และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อปรับปรุงการจักการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของความเป็นครู
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในวิชาชีพครูเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ภาระงานของครู พัฒนาการของวิชาชีพครู
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู และกฎหมายที่เกี่ยวกับครู

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงวิชา
1.เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
2.เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา

แผนการเรียนรู้             
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  ความหมายและความสำคัญของครู
ครู อาจารย์ และคำที่มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน
ครูกับความเป็นครู
ความสำคัญของครู
บทบาทและหน้าที่ของครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วิชาชีพครู
วิชาชีพครู และองค์กรวิชาชีพครู
คุณลักษณะของวิชาชีพทั่วไป
คุณลักษณะของวิชาชีพครู
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ประวัติและพัฒนาการฝึกหัดครู
ความเป็นมาของครู
การฝึกหัดครู
การพัฒนาครูในศตวรรษใหม่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ลักษณะของครูที่ดี
เอกลักษณ์ของครูที่ดี
ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดี
         - ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา
         - ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระราชดำรัส
         - ลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลต่างๆ
         - ลักษณะของครูที่ดีจากผลงานการวิจัย
         - ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา
         - ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของครู
คุณธรรม
          -ความหมายของคุณธรรม
จริยธรรม
         -ความหมายของจริยธรรม
หลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครู
จรรยาบรรณ
         - ความหมายของจรรยาบรรณ
         - จรรยาบรรณของครู
         - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  การสร้างศรัทธาในวิชาชีพครู
ความหมายของศรัทธา
หลักธรรมในการศรัทธาในวิชาชีพครู
         - อริยสัจ 4
         - ฆราวาสธรรม 4
         - พรมวิหาร 4
         - พลธรรม 4
         - อธิฐานกรรม 4
ค่านิยม
         - ความหมายและความสำคัญของค่านิยม
         - ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
         - การปลูกฝังค่านิยม
         - ค่านิยมของครู
         - การพัฒนาค่านิยมในวิชาชีพครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  การสร้างศักยภาพครู
ความหมายของศักยภาพ
ความหมายของสมรรถภาพ
คุณภาพของครูไทย
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 บุคคลแห่งการเรียนรู้สู่ผู้นำทางวิชาการ
ความหมายของการเรียนรู้
ความหมายของผู้นำ
ความหมายของวิชาการ
แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
การส่งเสริมและพัฒนาครู
แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
- วิธีสอน เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(Blended Learning)
- เนื้อหาบทเรียน  เนื้อหาวิชาความเป็นครู